KhonKaen
x = independently organized TED event

This event occurred on
April 7, 2018
Muang, Khon Kaen
Thailand

In the spirit of ideas worth spreading, TEDx is a program of local, self-organized events that bring people together to share a TED-like experience. At a TEDx event, TEDTalks video and live speakers combine to spark deep discussion and connection in a small group. These local, self-organized events are branded TEDx, where x = independently organized TED event. The TED Conference provides general guidance for the TEDx program, but individual TEDx events are self-organized (subject to certain rules and regulations).

50th year of engineering building (50 years Witsawa Ruamjai Building)
Tambon Sila, Khonkaen university
Muang, Khon Kaen, 40000
Thailand
Event type:
Standard (What is this?)
See more ­T­E­Dx­Khon­Kaen events

Speakers

Speakers may not be confirmed. Check event website for more information.

Luke Duggleby

Luke Duggleby is an award-winning British freelance photographer who has been based in Asia for around 15 years. He works mostly in Asia but also in Africa and further afield shooting documentary, portraiture and editorial assignments for media, corporate and NGO clients. When not on assignment he works on his own personal documentaries. He is the founder of The Sidi Project and founding member of Climate Heroes a non-profit multimedia project and educational essay for the public, which gathers worldwide stories of men and women, citizens, scientists, media, politicians and entrepreneurs who have started acting to elevate consciousness about, mitigate, or understand Climate Change. Luke speaks English and Thai and lives in Bangkok, Thailand, with his family all year round.

ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังเดินมาถึงจุดเปลี่ยน โดยเฉพาะประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในสังคมวงกว้างเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยซัมมิท โอโต พาร์ท อินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำของไทยให้แก่รถยนต์หลากหลายแบรนด์รวมทั้งเทสลา ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ แต่ละภาคส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทำอย่างไรเราจะก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคตที่ดีกว่าโดยไม่เสียต้นทุนที่สำคัญ ซึ่งเป็นเวลาและอนาคตของคนรุ่นหลัง

ดั่งใจถวิล อนันตชัย

คุณดั่งใจถวิล สำเร็จการศึกษาปริญญาโทในสาขา Mass Communication ปัจจุบันกำลังทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกในเรื่อง Multi-generation Engagement in Workplaceจากบทบาทผู้บริหารองค์กรที่ทำงานกับคนเป็นหลัก ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาคุณดั่งใจถวิลเห็นความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในการทำงานกับคนต่างรุ่นที่ต่างให้คุณค่าและมีวิธีการทำงานที่ต่างกัน ปัจจุบัน คุณดั่งใจถวิล ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทจ ประเทศไทย จำกัด และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย (TMRS) และกรรมการ Asia Pacific Research Committee

ถนัด ธรรมแก้ว

ถนัด ธรรมแก้ว หรือนามปากกา ภู กระดาษ เกิดและเติบโตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีงานเขียนที่สะท้อนวิถีชีวิตอีสานที่ได้รับการแปลและเผยแพร่ในภาษาอังกฤษและกำลังดำเนินการแปลเพื่อเผยแพร่ในภาษาญี่ปุ่น ปัจจุบันอาศัย/ทำงานเลี้ยงชีพอยู่ในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ผลงานของเขาได้แก่ ผลงานของเขาได้แก่ กวีนิพนธ์ “ไม่ปรากฏ” (2013), นวนิยาย “เนรเทศ” (2014), รวมเรื่องสั้น “ดั่งเรือนร่างไร้องคาพยพ” (2015) และ “ชั่วโมงก่อนพิธีสวนสนาม” (2016)

นพ.วัฒนา พารีศรี

นพ.วัฒนา พารีศรี เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐาน JCI (Joint Commission International) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2558 นพ.วัฒนาเป็นชาวชนบทโดยกำเนิด ได้พบเห็นและรับรู้ปัญหาที่เป็นจริงของการแพทย์ในชนบท จึงตั้งปณิธานในใจตั้งแต่เริ่มทำงานว่าจะต้องกลับมาทำงานในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพให้โรงพยาบาลชุมชน โดยได้พัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อให้เป็นองค์กรในฝันของคนทำงาน และเป็นโรงพยาบาลในใจของคนไข้ โดยนำหลักการบริหารที่ยึดเอาความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นหลัก (Customer focus) และสร้างประโยชน์กลับไปสู่ประชาชน

นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย

นายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้ได้รับรางวัลแพทย์ประจำบ้านดีเด่น พ.ศ. 2526 ได้รับทุน Weary Dunlop Boongpong ไปศึกษาสาขาอุบัติเหตุวิทยา จากมหาวิทยาลัย Monash University, Melbourne, Australia ในพ.ศ.2536 และกลับมาพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุของโรงพยาบาลขอนแก่น โดยได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานจากองค์การอนามัยโลก และรัฐบาลญี่ปุ่น นางแพทย์วิทยา ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมมากมายเพื่อให้อุบัติเหตุและการสูญเสียบนท้องถนนลดลง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤติบำบัด และผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลก ด้านการป้องกันอุบัติเหตุ ได้รับรางวัล Robert Danis prize “ศัลยแพทย์ดีเด่น” จาก ISS (International Society of Surgery)

นพ.อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร

คุณหมออภิสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น นอกจากจะอุทิศชีวิตให้กับการดูแลคนไข้แล้ว ยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชุมชน และระบบสาธารณสุขของเมืองไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน จึงริเริ่มโครงสร้างโรงพยาบาลในรูปแบบใหม่ ดำเนินงานในแบบโรงพยาบาลประชารัฐ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาระบบสาธารณสุข และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้ในเวลาเดียวกัน ปัจจุบันโรงพยาบาลอุบลรัตน์ได้กลายเป็นต้นแบบให้แก่โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศเนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินที่โรงพยาบาลทั่วประเทศกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านและชุมชนไปพร้อมๆ กัน

พรพิมล มิ่งมิตรมี

พรพิมล หรือ หมิว เกิดและเติบโตที่บ้านหนองส่าน หมู่บ้านเล็กๆ ในอำเภอภูพาน จ.สกลนคร เธอสำเร็จการศึกษาด้านโบราณคดี สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะในกรุงเทพฯ เมื่อเธอเรียนจบแล้วก็ทำงานในเมืองใหญ่เหมือนเช่นเพื่อนคนอื่นๆ แต่ในที่สุดเธอก็เลือกที่จะกลับบ้าน เพื่อฟื้นชีวิตให้ชุมชนที่มีแต่เด็กและคนแก่กลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้งด้วยการท่องเที่ยวชุมชน ปัจจุบัน หมิวทำงานเป็นนักพัฒนาธุรกิจชุมชน ให้กับบริษัทประชารัฐสกลนคร (วิสาหกิจเพื่อสังคม) และดูแลกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองส่าน

ร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธ

ตั้งแต่ปี 2531 ร้อยตำรวจตรี วิชัย สุริยุทธ หรือดาบวิชัย แห่งอำเภอปรางกู่ จังหวัดศรีสะเกษ จะขี่รถจักรยานยนต์ตระเวนปลูกต้นไม้ทุกๆ วันในตอนเช้าและหลังเลิกงาน จนถูกหาว่าเป็นคนบ้า แต่เขายังเพียรทำสิ่งที่ตนเองเชื่อ เพราะเล็งเห็นว่าผลที่ได้จากการปลูกต้นไม้จะเป็นความยั่งยืนและที่ให้ประโยชน์ไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน เมื่อเวลาผ่านไป ต้นไม้ใหญ่เติบโตให้ร่มเงาและผลิตผลที่สร้างอาชีพแก่ผู้คน อำเภอปรางค์กู่ ที่เคยเป็นอำเภอที่แห้งแล้งยากจนที่สุดในประเทศไทย ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป นับต้นไม้ที่เขาปลูกเพียงคนเดียวได้กว่า 3 ล้านต้น

วันดี พลทองสถิตย์

แม่วันดี พลทองสถิตย์ หรือ หมอลำอุดมศิลป์ เป็นผู้ชื่นชอบในการแสดงหมอลำพื้นบ้านตั้งแต่วัยเด็ก และได้เข้าร่วมแสดงในคณะหมอลำ “สามัคคีรุ่งนคร” เพื่อหารายได้มาแบ่งเบาภาระของครอบครัว คนอีสานรู้จักแม่วันดี พลทองสถิตย์ในนาม “หมอลำอุดมศิลป์” เมื่อได้ตั้งคณะหมอลำ “อุดมศิลป์” เป็นของตัวเองในปีพุทธศักราช 2516 ด้วยประสบการณ์ผลงานการแสดงที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ สอนนักศึกษาด้านศิลปะการแสดงหมอลำพื้นบ้าน สังกัดสาขาดุริยางคศิลป์ แขนงดนตรีพื้นเมือง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สมบัติ สิมหล้า

ครูสมบัติ สิมหล้า เป็นหมอแคนผู้บกพร่องทางการมองเห็น เรียนวิชาการเป่าแคนตั้งแต่วัยเด็ก และเริ่มเลี้ยงชีพด้วยการเป่าแคนขอทาน จนกระทั่งได้เข้าร่วมวงดนตรีหมอลำและตระเวนแสดงทั่วประเทศ ครูสมบัติเป็นหมอแคนผู้คิดค้นลายแคนที่แตกต่าง และมีการประยุกต์ต่อยอดดนตรีชนิดนี้อยู่เสมอ ถือเป็นตำนานหมอแคนที่ยังมีชีวิตอยู่

สวาท อุปฮาด

พ่อสวาท เป็นเกษตรกรที่ต่อสู้ในเรื่องสิทธิที่ดินในประเทศไทยมายาวนาน เป็นแนวร่วมกับกลุ่มเอ็นจีโอ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับภาครัฐในการออกนโยบายที่จะสร้างความเท่าเทียมและช่วยเหลือเยียวยาคนจนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการกระจายสิทธิที่ดินอย่างไม่เป็นธรรม ปัจจุบันพ่อสวาทเป็นเกษตรกรอินทรีย์ ที่ทำงานร่วมกับชุมชนในการส่งเสริมเกษตรปลอดสารเคมี และมีบทบาทในการฟื้นฟูชุมชนภายหลังน้ำท่วมใหญ่ให้กลับมาตั้งตัวได้อีกครั้ง

อรรถพล อนันตวรสกุล

‘อาจารย์ฮูก’ ของลูกศิษย์ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นทั้งผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education) และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในฐานะพลเมืองบนสังคมออนไลน์ อาจารย์ฮูกมักจะใช้หน้า wall ของตนเองเป็นพื้นที่แสดงความคิดเห็นด้านสังคมและการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ จนเป็นที่สนใจของสื่อต่างๆ เป็นประจำ ประเด็นที่อาจารย์ฮูกมักจะสื่อสารกับสังคมคือการฝึกให้เด็กๆ มีความพร้อมและเข้าใจเรื่องความเสมอภาค เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมสู่ประชาธิปไตยที่มุ่งหวัง

เบบี้ไมม์ Babymime

"Babymime" สามหนุ่มอารมณ์ดี รัชชัย รุจิวิพัฒนา (งิ่ง) ณัฐพล คุ้มเมธา (ธา) และ ทองเกลือ ทองแท้ (เกลือ) เริ่มต้นจากการเรียนละครใบ้จาก กลุ่มคนหน้าขาว หลังจากได้ตั้งใจ ฝึกฝนสั่งสมประสบการณ์อยู่หลายปี ปัจจุบันพวกเขาใช้ความเงียบเดินทางสร้างเสียงหัวเราะให้ผู้ชม ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ รวมถึงจัดแสดงโชว์ของตนเองต่อเนื่องแทบทุกปี มามากกว่า 12 ปี “BABYMIME THAILAND TOUR” เป็นโครงการล่าสุดที่พวกเขาได้ออกทัวร์เดินทางแสดงทั่วประเทศ 12 จังหวัด เพื่อส่งมอบเสียงหัวเราะ รอยยิ้มและตอบแทนสังคมให้กับเด็ก ๆ ที่อยู่ห่างไกล

เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข

เอกลักษณ์ ทำงานเป็น หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา องค์กรพัฒนาเอกชนแห่งเดียวของประเทศไทย งานของศูนย์ คือ รับแจ้งเรื่องคนหาย พร้อมให้คำปรึกษาแก่ญาติของคนหาย และประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือและติดตามคนหายอย่างต่อเนื่อง “จนกว่าจะพบตัวหรือพบศพ” ตลอดระยะเวลา 14 ปีในการทำงาน ที่บทเรียนทุกครั้งต้องแลกมาด้วยชีวิต เขาพบว่า ทักษะที่จำเป็นต้องใช้มากที่สุด คือ การ “รับฟังด้วยใจ” รับฟังอย่างระมัดระวัง วางใจเป็นกลาง เพื่อนำไปสู่การประสานความร่วมมือจากทุกคนทุกฝ่ายให้ช่วยกันขับเคลื่อนกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหา ‘คนหาย’ ในประเทศไทยต่อไป

ไพศาล อำพิมพ์

ไพศาล อำพิมพ์ หรือออสก้า เป็นศิลปินอิสระ ผู้หลงใหลในป่า ภูเขา แม่น้ำ และความหลากหลายของผู้คน เพราะได้ร่วมทำกิจกรรมกับชมรมเด็กรักนก กลุ่มที่ได้รับการอุปถัมป์จากหลวงพ่อไพศาล วิสาโลมาอย่างยาวนาน ปัจจุบัน ออสก้าทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสิทธิมนุษยชน และศึกษาธรรมะ รวมทั้งมีผลงานศิลปะที่เคยสร้างสรรค์นำเสนอแก่สังคมมากมาย ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เช่น การร่วมก่อตั้งโครงการ “RAM Space” (Relational Astatic model) และได้รับคัดเลือกไปแสดงงาน ณ XIANG-ER ภายใต้โครงการ Exchange of Hope ที่เมืองเถาหยวน ไต้หวัน โดยได้แสดงผลงานชื่อ“กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี”

Organizing team

chatthawut
duangdeethaweesap

Khon Kaen, Thailand
Organizer

Supakorn
Sirisoontorn

Khonkaen, Thailand
Co-organizer
  • Phattarajul Chantaramontree
    Production